เชื่อว่าหลายคนยังมีความรู้สึกเดิมๆว่าหนังสือรางวัลซีไรต์เป็นหนังสือที่อ่าน1ยาก เพราะเป็นหนังสือที่แฝงประเด็นต่างๆในสังคมๆว้มากมาย เพื่อให้ผู้อ่านต้องขบคิดและตีความ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความอ่านยากเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของงานซีไรต์ที่ยากจะพบในงานหนังสือเล่มอื่นๆ ด้วยความที่นักเขียนแต่ละคนต้องประชันความสามารถกันด้วยความสร้างสรรค์ จึงทำให้งานเขียนแต่ละเรื่องเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ แถมบางเล่มเป็นผลงานอมตะที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำนับไม่ถ้วน บางเล่มก็เพิ่งจะตีพิมพ์ออกมาใหม่ไม่นาน ทำให้ชาวหนอนหนังสือได้สะสมกัน และสำหรับใครที่กำลังมีความคิดว่าจะลองเริ่มอ่านงานซีไรต์ ในบทนี้เราจึงทำการแนะนำอันดับหนังสือ 10 อันดับหนังสือซีไรต์ จากนักเขียนชื่อดังหลายคน ซึ่งมีความน่าสนใจและคุ้มค่ากับการอ่านอย่างยิ่ง ไปดูกันเลยค่ะ
อันดับที่ 10 วรรณกรรมซีไรต์เรื่อง “เจ้าหงิญ” ของบินหลา สันกาลาคีรี วรรณกรรมเรื่องนี้มีเรื่องราวเหนือจริงที่แฝงแนวคิดสุดสมจริงของเหล่าเจ้าหงิญ โดยหนังสือซีไรต์เรื่องนี้ได้รวบรวมเรื่องสั้นเบาๆเกี่ยวกับ เจ้าหงิญ ซึ่งเป็นเรื่องแฟนตาซีเหนือจริง 8 เรื่อง ที่มีจุดรวมคือตัวละครแต่ละตอนจะเป็นเจ้าหงิญ เล่มนี้อ่านค่อนข้างง่ายเพราะว่าเล่าเรื่องแบบนิทาน แต่เนื้อหาคมคายมาก แต่ละเรื่องจะสอดแทรกประเด็นทางสังคมให้ทุกคนได้ฉุกคิด โดนเน้นปัญหาครอบครัวเป็นหลัก ทั้งชีวิตคู่และการหย่าร้าง ถ้าใครกำลังสงสัยว่า ทำไมต้องสลับตัวอักษรจาก เจ้าหญิง เป็นเจ้าหงิญ ขอบอกว่าหากอ่านจนจบเล่มจะได้คำตอบแน่นอน
อันดับที่ 9 วรรณกรรมซีไรต์เรื่อง “คนแคระ” ของวิภาส ศรีทอง ซึ่งเป็นหนังสือที่ชวนคุณลงไปดำดิ่งในจิตใจความเป็นมนุษย์ สำหรับคนที่ชอบอ่านแนวความลุ่มลึก หนักหน่วง เล่มนี้เหมาะกับคุณอย่างมาก
คนแคระเป็นเรื่องราวของคน 3 คน เป็นเรื่องราวของการจับคนแคระมาขังไว้ในกรง และเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เรื่องนี้มีจุดเด่นทางภาษาเฉพาะตัวที่ค่อนข้างละเอียดยิบ สามารถบรรยายให้เห็นภาพทุกซอกทุกมุมของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ชวนให้ทุกคนดำดิ่งไปกับเนื้อเรื่องก้นบึ้งอันดำมืดของจิตใจและความคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อมนุษย์ผ่านสัญญาณต่างๆ จึงค่อนข้างเหมาะกับคนที่ชอบตีความ อ่านจบแล้วอยากพูดคุยให้ความคิกตกตะกอนและไม่แน่ว่า เมื่ออ่านจบแล้ว คุณอาจจะพบบางสิ่งบางอย่างในจิตใจของตัวคุณเอง
อันดับที่ 8 วรรณกรรมซีไรต์เรื่อง “ ความน่าจะเป็น”ของ ปราบดา หยุ่น หากคุณได้อ่านซีไรต์เรื่องนี้ก็จะสัมผัสได้หลากหลายเรื่องราวตลกร้ายของชีวิต ที่ไม่เหมือนใคร ผลงานเรื่องนี้รวบรวบเรื่องสั้นเข้าด้วยกันถึง 13 เรื่อง มีจุดที่โดดเด่นมากๆอยู่ที่กลวิธีการเขียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้นักเขียนผู้นี้มีชื่อเสียงขึ้นมา โดยกลวิธีของปราบดาคือการเล่าเรื่องได้อย่างสนุกสนาน มีความแตกต่างที่ไม่ค่อยพบในการเล่าเรื่องทั่วไป ส่วนภาษาก็จิกกัดให้ได้แบบแสบๆคันๆ เนื้อหาเป็นเรื่องราวที่เหมือนว่าจะมีอะไรบางอย่างอยู่แต่สุดท้ายจะมีหรือไม่มีก็สุดแล้วแต่ผู้อ่านจะตีความ ดังนั้นเล่มนี้จึงเหมาะกับคนที่อยากลองของใหม่ รับรองว่าจะพบกับความตลกร้ายที่ไม่เหมือนใครแน่นอน
อันดับที่ 7 วรรณกรรมซีไรต์เรื่อง “ สิงโตนอกคอก” ของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท หนังสือเล่มนี้จะว่าในเรื่องของจริยธรรม คุณธรรมของผู้นำ นักการเมือง พลเมืองในดินแดนสมมุติ หากใครเคยอ่านนวนิยาย Y ก็คงคุ้นเคยกับนามปากกา ร เรือ ในมหาสมุทร อยู่บ้าง ขอบอกเลยว่าหญิงสาวคนนั้นเป็นเจ้าของตำแหน่งรางวัลหนังสือซีไรต์ที่อายุน้อยที่สุด และสิงโคนอกคอกเล่มนี้ก็คือผลงานของเธอนั่นเอง เรื่องนี้รวบรวมเรื่องสั้น 8 เรื่องทีเน้นถึงความดีความชั่ว สิ่งที่พึงกระทำของผู้นำและนักการเมืองในประเทศสมมุติ ที่เมื่ออ่านแล้วอาจจะรู้สึกคุ้นเคยกับประเทศที่สมมุตินั้นเป็นอย่างดี หากใครที่สนใจเรื่องราวร่วมสมัยเล่มนี้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีมากๆ
ลำดับที่ 6 วรรณกรรมซีไรต์ เรื่อง “ ไส้เดือนตาบอด ในเขาวงกต” ของ วีรพร มิติประภา ในบทเด่นของเล่มนี้ได้กล่าวว่า “บางครั้งพวกเราต่างก็เป็นไส้เดือนที่ตาบอดในความสัมพันธ์” เล่มนี้เล่าถึงมายาคติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ความรัก ที่เราถูกสอนให้เชื่อผ่านสิ่งต่างๆในสังคมว่า แท้ที่จริงความรักนั้นขื่นขม และบิดเบี้ยวยิ่งกว่านั้น อีกครั้งในหลายๆครั้ง เราก็เป็นเหมือนไส้เดือนที่หลงอยู่ในภาพมายาดังกล่าว เรื่องนี้เล่าผ่านตัวละครหลายตัวที่มีความเกี่ยวโยงกัน และไม่ได้เล่าเรื่องตามลำดับเวลาอีกด้วย ดังนั้นผู้อ่านอาจจะเกิดการสับสนในการลำดับเหตุการณ์ในเรื่องได้ แต่การเล่าตัดสลับไปมาก็เป็นเหมือนจิ๊กซอว์ที่เมื่อจับมาเรียงต่อกันแล้ว จะแสดงภาพได้ชัดเจนที่สุด
ติดตามอ่าน วรรณกรรมซีไรต์ที่น่าอ่านในลำดับที่ 1-5 ในบทความตอนที่ 2 ให้ได้นะคะ
#หนังสือวรรณกรรม #รีวิวหนังสือน่าอ่าน #หนังสือนิยาย