ซึ่งถ้าถามว่าทำไมต้องเป็นหนังสือเล่มนี้ แล้วทำไมเราต้องมาอ่านหลักปรัชญาให้ปวดหัว นี่เป็นคำถามที่ผุดขึ้นมาในหัวอันดับต้น ๆ ของคนที่ไม่เคยศึกษาเรื่องปรัชญาและไม่เข้าใจปรัชญาอย่างแท้จริง เพราะอันที่จริงแล้ว “ปรัชญา” ไม่ใช่การเข้าป่าหรือนั่งอ่านบทสวดอย่างที่หลายคนเข้าใจ หรือบางอย่างที่คนอื่นมักมองว่าปรัชญาคือเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก คนที่อ่านปรัชญามักมีบุคลิกที่แปลกแยก นั่นเป็นแนวคิดที่ผิดมหันต์
เพราะปรัชญาไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย กลับกันมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้งนั้น คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่ให้ความสำคัญกับหลักปรัชญาเป็นอย่างมาก เช่น ปรัชญาอิคิไก หลักคิดที่ต้องการให้มนุษย์รูจักคุณค่าของชีวิต รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ทำไปเพื่ออะไร เรียกง่าย ๆ ก็คือ มีจุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิตนั่นเอง ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการเยียวยาจิตใจ และยังมีปรัชญาอื่น ๆ อีกหลายร้อยแนวคิดที่นำมาปรับใช้กับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม
Zen ก็เป็นหนึ่งในปรัชญาอันดับต้น ๆ ที่คนญี่ปุ่นนำมาใช้กันมากที่สุด โดยในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงแนวคิดแบบเซนโดยตรง ซึ่งแนวคิดตามแบบเซนที่ในหนังสือได้บอกมานั้น จะพูดถึงการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ หมายความว่าธรรมชาติเป็นมายังไงเราควรที่จะไหลไปตามธรรมชาติ
อย่างถ้าใครเคยดูอนิเมะของญี่ปุ่น หลายต่อหลายเรื่องคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมในเรื่องนั้น ๆ ตัวละครต้องมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ทำไมเหตุการณ์ต้องเกิดขึ้นที่ชนบท ทำไมต้องมีเรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดแบบเซนทั้งสิ้น แต่จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ที่นอกจากจะอธิบายหลักคิดแบบเซนแล้วนั้น ยังมีความเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา เพราะผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่าแนวคิดแบบเซนและพุทธศาสนาแบบเซนมีความเชื่อมโยงกันอยู่
หนังสือเรื่อง Zen จึงเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย เพราะเอาเข้าจริงมันก็คือแนวคิดการใช้ชีวิตแบบหนึ่ง เปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนที่ช่วยให้คุณมองเห็นการใช้ชีวิตของตัวเอง และหนังสือยังทำให้คุณมองคำว่า “ชีวิต” ได้กว้างกว่าเดิม มองเห็นภาพชัดเจนกว่าเดิม และสามารถหาทางออกให้กับชีวิตได้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนญี่ปุ่นจึงนิยมอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดแบบเซน เพราะมันเป็นหลักคิดที่ช่วยให้เข้าใจการใช้ชีวิตได้ดีมากจริง ๆ